วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บทที่ 8

โครงงาน project การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล

# พรีเซ็นโครงงานจากหัวข้อ การออกแบบและจัดฐานข้อมูลหลักสูตรโรงเรียน

ขั้นตอนการทำโครงงาน

 ภายในกลุุ่มจะช่วยกันหาข้อมูล และมาประชุมกันในการแบ่งเนื้อหาที่ทำเล่มรายงานและ Point นำเสนอ ภายในกลุ่มจะต้องเข้าในระบบการจัดฐานขอมูลของอาคารสถานที่ทุกคนเพราะจะได้เข้าใจกันทุกคนง่ายต่อการออกแบบระบบ


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

สรุปต่อจากบทที่ 7 


 คำสั่ง SQL ที่เกี่ยวกับ data manipulation 


    ในส่วนนี้เราจะทำการศึกษาเกี่ยวกับคำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูลภายใต้การประยุกต์ใช้คำสั่ง 


 INSERT, SELECT, COMMIT, UPDATE, ROLLBACK และ DELETE ตามลำดับ


การเพิ่มแถวของข้อมูลในตารางข้อมูล


    การเพิ่มข้อมูลในตารางข้อมูลจะสามารถดำเนินการเพิ่มข้อมูลได้ทีละแถวข้อมูลด้วยการประยุกต์ใช้ 


คำสั่ง INSERT


การเรียกดูแถวข้อมูลต่างๆ


    ในการเรียกดูข้อมูลเราจะสามารถเรียกดูข้อมูลในแอทริบิวต่างๆได้มากกว่าหนึ่งแอทริบิว แต่ถ้าเราต้องการ เรียกดูข้อมูลทุกแอทริบิวในตารางข้อมูลหนึ่งๆ เราอาจท าการกำหนดชื่อทุกแอทริบิวในคำสั่ง SELECT หรือเรา ทำการประยุกต์ใช


การอัพเดทข้อมูลแถวต่างๆในตารางข้อมูล


    การอัพเดทข้อมูลในตารางหนึ่งๆสามารถดำเนินการโดยประยุกต์ใช้คำสั่ง UPDATE ที่จะมีรูปแบบ 


     UPDATE tablename


    SET columnname = expression [, columnname = expression]


     [WHERE conditionlist]; 


        ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการอัพเดทข้อมูลในแอทริบิว P_INDATE จากเดิมที่มีค่าเป็น 13 Dec 2009 ให้ กลายเป็น 18 Jan 2010   


การกู้คืนข้อมูลในตารางข้อมูล 


    ในการจัดเก็บข้อมูล ถ้าเรายังไม่ได้ทำการประยุกต์ใช้คำสั่ง COMMIT (จะเป็นคำสั่งสำหรับจัดเก็บ ข้อมูลลงในดิสก์) เราจะสามารถกู้คืนข้อมูลในตารางข้อมูลได้ด้วยการประยุกต์ใช้ค าสั่ง ROLLBACK แต่ถ้าเรา ทำการประยุกต์ใช้คำสั่ง COMMIT ไปแล้ว เราจะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลในตารางข้อมูลก่อนการประยุกต์ใช้ คำสั่ง COMMIT ได้ โดยการประยุกต์ใช้คำสั่ง ROLLBACK


การลบข้อมูลออกจากตารางข้อมูล


    การลบข้อมูลออกจากตารางหนึ่งๆสามารถดำเนินการโดยประยุกต์ใช้คำสั่ง DELETE ที่จะมีรูปแบบ


    DELETE FROM tablename 


    [WHERE conditionlist];


    ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการลบข้อมูลออกจากตาราง PRODUCT ที่ซึ่งจะต้องการลบข้อมูลรายการสินค้าที่มี รหัสเป็น ‘BRT-345’


 การเพิ่มข้อมูลในตารางข้อมูลด้วยการเรียกดูข้อมูลจากตารางข้อมูลหนึ่งๆ


    เราได้ศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มข้อมูลในตารางข้อมูลหนึ่งๆที่ซึ่งในการ ดำเนินการแต่ละครั้งจะเป็นการเพิ่มข้อมูลแถวหนึ่งๆในตารางหนึ่งๆเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถทำการ เพิ่มหลายแถวข้อมูลให้กับตารางข้อมูลด้วยการอ่านข้อมูลจากตารางข้อมูลอื่นโดยการประยุกต์ใช้คำสั่ง



ผลการเรียนครั้งที่ 9

ผลการเรียนครั้งที่ 9

 สรุปต่อจากบทที่ 7 

คำสั่ง SQL ที่เกี่ยวกับ data definition


  ก่อนที่เราจะทำการศึกษาค าสั่ง SQL ส าหรับการสร้างและการกำหนดส่วนประกอบต่างๆของ ตารางข้อมูล ลองพิจารณาแบบจำลองข้อมูลในรูป 7.3 เพื่อใช้เป็นตัวอย่างประกอบ โดยจากรูปจะประกอบไป  


ด้วย 5 ตารางข้อมูล : CUSTOMER, INVOICE, LINE, PRODUCT และ VENDOR 



การสร้างฐานข้อมูล


    ก่อนที่เราจะประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก RDBMS เราจะต้องด าเนินการสร้างโครงสร้างของฐานข้อมูล และทำการสร้างตารางข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ในการที่จะดำเนินการสร้างโครงสร้างของฐานข้อมูล RDBMS


 Database schema


 Schema ภายใต้ค าสั่ง SQL จะเป็นกลุ่มของตารางข้อมูลและดัชนีข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูลที่ซึ่งจะ เป็นตารางข้อมูลและดัชนีของผู้ใช้หรือแอพพลิเคชันหนึ่งๆ


ชนิดของข้อมูลในฐานข้อมูล


    -ข้อมูลเชิงตัวเลข


    -ข้อมูลเชิงข้อความหรือตัวอักษร


    -ข้อมูลวันที่


การกำหนดโครงสร้างของตารางข้อมูล


 ณ ตอนนี้เรามีความพร้อมที่จะทำการกำหนดโครงสร้างตารางข้อมูล PRODUCT และ VENDOR


การกำหนดเงื่อนไข


 เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่ซึ่งจะกำหนดให้ ตารางข้อมูลจะต้องมี entity integrity และ referential integrity ดังนั้น ในการสร้างฐานข้อมูลจริง เราก็ ควรจะดำเนินการให้ตารางข้อมูลต่างๆมี entity และ referential integrity ด้วยเช่นกัน ในการทำให้ ตารางข้อมูลหนึ่งๆมีคุณสมบัติ 


การสร้างดัชนี

 แนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างดัชนีจะช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลและยัง สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการปรากฏซ้ำของค่าของข้อมูลในแอทริบิวที่ทำการสร้างดัชนีได้ ด้วยเหตุนี้ ภาษา SQL จึงมีคำสั่งที่สนับสนุนการสร้างดัชนีที่ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ด้วยการประยุกต์ใช้คำสั่ง CREATE INDEX

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8

ผลการเรียนครั้งที่ 8

 บทที่ 7

ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง


ภาษา SQL เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างฐานข้อมูลและสร้างโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลของ ตารางข้อมูลต่างๆ ใช้สำหรับการจัดการต่างๆกับข้อมูล อาทิเช่น การเพิ่ม ลบ และอัพเดทข้อมูล และยังถูกใช้ สำหรับการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลด้วยเช่นกัน ภาษา SQL จะมี 2 ฟังก์ชันการทำงานหลัก ดังนี้


  Data Definition Language (DDL)—จะเป็นคำสั่ง SQL ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตารางข้อมูล ดัชนี มุมมองต่างๆ และยังรวมถึงคำสั่งสำหรับการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงตารางข้อมูลต่างๆ 

Data Manipulation Language (DML)—จะเป็นคำสั่ง SQL ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่ม อัพเดท ลบ และสืบค้นข้อมูลจากตารางข้อมูลในฐานข้อมูล โดยคำสั่งประเภท DML

คำสั่ง SQL ทั้งสองหมวดหมู่ข้างต้นจะทำการประยุกต์ใช้คำศัพท์เฉพาะไม่ถึง 100 คำที่ซึ่งจะทำให้เรา สามารถเข้าใจได้ง่าย คำสั่ง SQL จะสนใจเฉพาะเราต้องการจะทำอะไร เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลอะไร ต้องการเพิ่มข้อมูลอะไรในตารางข้อมูลใด ต้องการสร้างตารางข้อมูลใด เป็นต้น แต่จะไม่สนใจถึงวิธีในการ ดำเนินการต่างๆเพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ 



หัวใจหลักของ SQL คือ คิวรี (query) ที่ซึ่งจะครอบคลุมคำถามและการดำเนินการ เช่น รายการ สินค้าใดบ้างที่มีราคามากกว่า 100$ ที่ซึ่งถูกจัดเก็บในโกดังสินค้า? และรายการสินค้าเหล่านั้นมีจำนวนเท่าใด? พนักงานที่เริ่มทำงานกับบริษัทหลังจาก 1 January 2015 เป็นจำนวนเท่าใด? เป็นต้น นอกจากคำถามข้างต้น คิวรีของ SQL ยังถูกใช้ในการเพิ่ม ลบ อัพเดทข้อมูลในแถวข้อมูลต่างๆ และยังรวมถึงการสร้างตารางข้อมูล และดัชนี แต่ก่อนที่เราจะประยุกต์ใช้คำสั่ง SQL ในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล เราควรที่จะต้องทำการ กำหนดโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้คำสั่งประเภท DDL เสียก่อน 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บทที่ 6

การพัฒนาฐานข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล

พัฒนาระบบ หรือ System Development Life Cycle: SDLC ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 

การสํารวจเบื้องต้น การวิเคราะห์ การออกแบบทางตรรกะ การออกแบบทางกายภาพ 

การทําให้เกิดผล และการบํารุงรักษา ซึ่งการดําเนินการแต่ละขั้นตอน

ขั้นที่ 1 การสํารวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) 

    ได้ดําเนินการสํารวจเบื้องต้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการ ประเมินสมรรถนะและผลปฏิบัติงานบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในระบบงานเดิม ด้วยการ สัมภาษณ์สอบถามบุคลากรงานการเจ้าหน้าที่ กองกลาง สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา

ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ (Analysis)

   ผลจากการสํารวจเบื้องต้นในขั้นที่ 1 ทําให้ทราบปัญหาของระบบงานเดิม สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาระบบงานเดิม สามารถสรุปปัญหาระบบงานเดิม สาเหตุของปัญหา และ แนวทางแก้ไข 

ขั้นที่ 3 การออกแบบทางตรรกะ (Logical Design)

       หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบงานเดิม สามารถระบุปัญหาที่พบ สาเหตุของ ปัญหา และการเสนอแนะแนวทางแก้ไข กําหนดขอบเขตการพัฒนาระบบสารสนเทศสําหรับการ ประเมินสมรรถนะและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร


ขั้นที่ 4 การออกแบบทางกายภาพ (Physical Design)

    การออกแบบรายละเอียดด้านกายภาพ ได้แก่รายละเอียดด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่ใช้คณะนักวิจัยใช้ความพร้อมด้านกายภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย

ขั้นที่ 5 การทําให้เกิดผล (Implementation)
    
    หลังจากพัฒนาในขั้นตอนการออกแบบทางกายภาพ หรือพัฒนาให้เป็นระบบ สาระสนเทศ YRU Competency หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการทดสอบ การติดตั้งระบบที่พัฒนาขึ้น ในเครื่องแม่ข่ายให้บริการเว็บ (Web Server) ของมหาวิทยาลัย 
    
ขั้นที่ 6 การบํารุงรักษา (Maintenance)
    หลังจากที่ได้ติดตั้งทดลองใช้ระบบ YRU Competency การบํารุงรักษาระบบ ดําเนินการโดยให้บุคลากรผู้ใช้ระบบสามารถแจ้งคําร้องข้อผิดพลาด เสนอแนะข้อควรปรับปรุง ในการทํางานของระบบทางอีเมลของผู้พัฒนา

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6
บทที่ 4
การสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ข้อมูล

Diagram (Entity Relationship Diagram) ขึ้นมาเพื่อใช้สําหรับออกแบบฐานข้อมูลนับจากนั้นเป็นต้นมา แผนภาพ E-R ก็ถูกนําออกไปใช้งานอย่างกว้างขวางโดยมีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย

 เอนทิตี คือวัตถุหรือส่วนประกอบของข้อมูลเอนทีตีถูกแสดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแผนภาพ E-R 

Entity จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

  •  Strong Entity หรืออาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Regular Entity เป็น Entity ที่มีคีย์หลักเป็นของตัวเอง
  •  Weak Entity คือ entity แบบอ่อนไม่มีคีย์เป็นของตัวเองและไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามลําพัง

 อธิบายคุณสมบัติของ entity

 1. Key attribute: attribute หลักสามารถระบุentity โดยไม่ซ้ํากันจากชุดentity ตัวอย่างเช่นหมายเลขม้วนนักเรียนสามารถระบุนักเรียนจากกลุ่มนักเรียนได้โดยไม่ซ้ํากัน

 2.ttribute ที่เปฌนการรวมกันของ attribute อื่นๆเรียกว่า Composite attribute ตัวอย่างเช่น ใน entity นักเรียนที่อยู่ของนักเรียน

 3. Multivalued attribute: attribute ที่สามารถเก็บค่าได้หลายค่าเรียกว่า attribute หลายค่า แสดงด้วยวงรีคูใน E-R Diagram ตัวอย่างเช่น - บุคคลสามารถมีหมายเลขโทรศัพท์ได้มากกว่าหนึ่ง หมายเลข

 4. Derived attribute: attribute ที่ได้รับคือค่าหนึ่งที่มีค่าเป็นแบบไดนามิก และได้มาจาก attribute อื่นมันแสดงด้วยวงรีเส้นประใน E-R Diagram ตัวอย่างเช่น - อายุของบุคคลเป็น attribute ที่ได้รับเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและสามารถหามาจาก attribute อื่น(วัน เดือน ปีเกิด)

 โครงสร้างข้อบังคับ

 ข้อบังคับในข้อมูลจะสะท้อนถึงข้อจํากัดต่าง ๆ บนความสัมพันธ์ และใช้เป็นเกณฑ์พื่อมิให้เกิดความพยายามฝ่าฝืน

 ตัวอย่างเช่น

 • มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีกฎข้อบังคับไว้ว่า อาจารย์ผู้สอนจะต้องสอนหนังสืออย่างน้อย 1 วิชาและสอนได้ไม่เกิน 3 วิชา

 Cardinality คือการกําหนดขอบเขตหรือจํานวนสมาชิกที่เป็นไปได้ในเอ็นทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับ สมาชิกของอีกเอ็นทิตี้หนึ่ง


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5                    

สรุปต่อจากบทที่ 3

คำศัพท์เฉพาะ







สรุปการออกแบบฐานข้อมูลด้วยแผนที่ความคิด







สัปดาห์นี้ได้อาจารย์ทบทวนเนื้อหาบทที่3 ของสัปดาห์ก่อน

และให้นักศึกษาพรีเซ็นงาน เรื่อง : โครงงานฐานข้อมูล

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 บทที่ 8 โครงงาน project การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล # พรีเซ็นโครงงานจากหัวข้อ การออกแบบและจัดฐานข้อมูลหลักสูตรโรง...