วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3


 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บทที่ 2

 สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล

สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูลเป็นมุมมองแนวความคิดที่ใช้ในการอธิบายถึงรูปแบบและโครงสร้างของข้อมูลในระบบฐานข้อมูโดยไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างจริงของระบบฐานข้อมูลนั้น ๆระดับสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลมีทั้งหมด 3 ระดับ

1. ระดับความคิด (Conceptual Level)

    : ผู้ออกแบบฐานข้อมูล ใช้วิเคราะห์ความต้องสารสนเทศและออกแบบฐาน

ข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งตารางฟิลด์และความสัมพันธ์ของตาราง

2. ระดับภายนอก (External Level)

    : ระดับการมองหรือวิว(View) ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลของแต่ละคน

3. ระดับภายใน (Internal Level)

    : จัดเก็บฐานข้อมูลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจริง


ความสัมพันธ์ (RelationShips) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้

    1. หนึ่งต่อหนึ่ง (1:1)

        เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอ็นทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์

กับข้อมูลในอีกเอ็นทิตี้หนึ่ง

   2. หนึ่งต่อกลุ่ม (One to Many)

        เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอ็นทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์

ข้อมูลหลายๆข้อมูลในอีกเอ็นทิตี้หนึ่ง

  3. กลุ่มต่อกลุ่ม (Many to Many)

        เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอ็นทิตี้


แอตทริบิวต์ (Attribute) หมายถึง

ข้อมูลที่ใช้อธิบายคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของแต่ละเอ็นทิตี้

ตัวอย่าง เอ็นทิตี้รายวิชา จะประกอบด้วย แอตทริบิวต์รหัสวิชา ชื่อวิชา และจำนวนหน่วยกิต

Tuple คือ แถวข้อมูลในตาราง โดยแต่ละแถวของข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายแอตทริบิวต์ หรือคอลัมน์ของข้อมูล

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2


บทที่ 1

ระบบการจัดฐานข้อมูล


ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง วัตถุ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว โดยสรุปเป็นรายงานทางสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจด้านใดด้านหนึ่ง

แฟ้มข้อมูล หมายถึง สิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุด




ชนิดของข้อมูล   คือข้อมูลที่จัดเก็บลงในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ชนิดของข้อมูลแบ่งออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่

1. ข้อมูลชนิดข้อความ

2. ข้อมูลที่เป็นรูปแบบ

3. ข้อมูลรูปภาพ

4. ข้อมูลชนิดเสียง

ระบบฐานข้อมูล : ข้อมูลต่าง ๆ จะจัดเก็บรวมอยู่ในฐานข้อมูลชุดเดียวกัน โดยจะมีซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (DBMS) คอยควบคุมและจัดการการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ตามแต่ละแผนก

ฐานข้อมูล (Database) : เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผนและผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้ได้ ซึ่งจะทําหน้าที่แบ่งปันข้อมูลแก่ผู้ใช้ตามหน่วยงานต่าง ๆ

(Database Management Systems : DBMS)

เป็นซอฟต์แวร์จัดฐานข้อมูลที่นำมาใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานและอนุญาตให้ผู้ใช้สร้างฐานข้อมูลเมื่อฐานข้อมูลถูกสร้างและได้กำหนดโครงสร้างเรียบร้อย ฐานข้อมูลก็พร้อมที่จะบันทึกข้อมูล เพื่อควบคุมการเข้าถึงฐาน

ข้อดีข้อจํากัดของฐานข้อมูล

ข้อดี

1. ความอิสระของโปรแกรมและข้อมูล

2. ลดความซํ้าซ้อนในข้อมูล

3. ข้อมูลมีความสอดคล้องตรงกัน

4. การใช้ข้อมูลร่วมกัน

5. เพิ่มผลิตภาพในการพัฒนาโปรแกรม

6. ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

7. ข้อมูลมีคุณภาพยิ่งขึน

8. การเข้าถึงและการตอบสนองข้อมูลดีขึ้น

9. ช่วยลดงานบํารุงรักษาโปรแกรม

10. สนับสนุนการตัดสินใจที่ดี

ข้อเสีย

1. ความซับซ้อน                              

2. ต้องใช้ความจุเพิ่มมากขึ้น

3. ต้นทุน DBMS ค่อนข้างสูง

4. ต้นทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น

5. ต้นทุนการแปลงข้อมูล

6. สมรรถนะการทํางาน

7. ผลกระทบต่อความล้มเหลวมีสูง


วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ที่ครั้งที่ 1


ผลการเรียนรู้ที่ครั้งที่ 1


แนะนำรายวิชาและกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชา


นคาบแรกของรายวิชากระบวนการเจัดฐานข้อมูล อาจารย์ได้อธิบายในรายละเอียดของวิชา

หลักสูตรและประเภทของรายวิชา จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้

ลักษณะการดำเนินการและการพัฒนาผลการเรียนรู้นักศึกษา

แผนการสอนและการประเมินผล ปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

สุดท้ายอาจารย์ได้บอกถึงการสร้าง Blogger ให้เป็นของตัวเองและได้มอบหมายงาน

พร้อมชี้แจงข้อตกลงที่เกี่ยวกับรายวิชา พูดถึงในเรื่องการเก็บคะแนนในชั้นเรียน


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 บทที่ 8 โครงงาน project การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล # พรีเซ็นโครงงานจากหัวข้อ การออกแบบและจัดฐานข้อมูลหลักสูตรโรง...