วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บทที่ 3

การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์


การทําให้เป็น บรรทัดฐาน (Normal Form) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ภาวการณ์พึ่งพิงซึ่งกันและกันของคอลัมน์หรือ แอตทริบิวต

เกณฑ์ของการเป็นรูปแบบบรรทัดฐาน มีทั้งหมด 6 ระดับ

รูปแบบบรรทัดฐานที่ 1 (1NF)

รูปแบบบรรทัดฐานที่ 2 (2NF)

รูปแบบบรรทัดฐานที่ 3 (3NF) 

รูปแบบบรรทัดฐาน BCNF

รูปแบบบรรทัดฐานที่ 4 (4NF)

 รูปแบบบรรทัดฐานที่ 5 (5NF)

Normalization คือ การปรับข้อมูลให้เป็นรูปแบบบรรทัดฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูลช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล รวมทั้งเพิ่มความถูกต้อง และลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภานหลัง

ความจำเป็นในการทำ Normalization

เพื่อลดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลและลดปัญหาของข้อมูลไม่ถูกต้องและช่วยลดปัญหาการเพิ่ม การลบและปรับปรุงข้อมูล

ระดับของ Normalization

ารทำ Normalization จะแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่โดยทั่วไปมักจะใช้เพียง 3 ระดับ หรือ 4 ระดับ ก็จัดว่าเพียงพอ คือ 

ระดับที่ 1  : กำจัดกลุ่มข้อมูลที่ซ่ำกัน ( Repeating Group )

ระดับที่ 2 : กำจัดการขึ้นต่อกันเพียงบางส่วน ( Partial Dependency )

ระดับที่ 3 : กำจัดการขึ้นต่อกันแบบสืบทอด ( Transitive Dependency )

ระดับที่ 4 : กำจัดการขึ้นต่อกันแบบหลายค่า ( Multi values Dependency )

ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ  Normalization

เนื่องจาก Normalization เป็นการตรวจสอบออกแบบโครงสร้างเพื่อการจัดเก็บข้อมูล ให้เกิดความมั่นใจว่าโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์

ดังนั้น การทำนอร์มอลไลซ์ จึงไม่จำเป็นต้องทำทีละขั้นหรือทีละระดับโดยถ้าผู้ออกแบบมีความเชี่ยวชาญ

การทำ Normalization ระดับที่ 1 ( 1NF )

   การนอร์มอลไลเซชันระดับที่ 1 คือ การปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐานระดับที่ 1 ( First Normal From : 1NF ) คือ กำจัดการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นกลุ่มข้อมูล ( Repeating Group ) โดยทำให้แอตทริบิวต์ในแต่ละแถวมีค่าข้อมูลเพียงค่าเดียว

 การทำ Normalization ระดับที่ 2 ( 2NF )

   การนอร์มอลไลเซชันระดับที่ 2 คือ เป็นการแก้ไขปัญหาความซ้าซ้อนของข้อมูล ที่

1. รีเลชันนั้นมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบนอร์มัล ระดับที่ 1

2.ทุกแอตทริบิวต์จะต้องขึ้นคีย์หลักทั้งหมดไม่แค่บางส่วน

การทำ Normalization ระดับที่ 3 ( 3NF )

   การนอร์มอลไลเซชันระดับที่ 3 คือ การปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐานระดับที่ 3

1.รีเลชันนั้นมีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบนอร์มัล ระดับที่ 2 มาก่อน

2.ทุกแอตทริบิวต์จะต้องขึ้นกับคีย์หลักเพียงคีย์เดียว คือ ต้องไม่มีแอตทริบิวส์ในตารางไปขึ้นกับคีย์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก

การทำ Normalization ระดับบอยส์-คอดด์ ( BCNF )

     การนอร์มอลไลซ์ระดับบอยส์-คอดด์ ( BCNF ) เป็นการปรับหลังการทำนอร์มอลไลซ์ระดับที่ 3 ซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีตารางระดับที่ 3 ที่ทีคีย์หลักเป็นคีย์แบบผสม

การทำ Normalization ระดับที่ 4 ( 4NF )

    โดยในตารางนอร์มอลไลซ์ระดับที่ 3 สามารถนำไปใช้งานได้แต่ในกรณีการขึ้นต่อกันแบบหลายค่า ( Multi-valued Dependency ) เช่น การเก็บข้อมูลต่างๆรวมกันสามารถนำมาปรับเป็น การนอร์มอลไลเซชันระดับที่ 4 ได้



                 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 บทที่ 8 โครงงาน project การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล # พรีเซ็นโครงงานจากหัวข้อ การออกแบบและจัดฐานข้อมูลหลักสูตรโรง...